วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Chapter 11 Computer Security and Safety, Ethics, and Privacy.

Chapter 11 Computer Security and Safety, Ethics, and Privacy.



Internet นั้นก็เหมือนกับโลกจำลองที่มีบุคคลต่างอยู่อย่างมากมาย ในนั้นก็มีตั้งแต่ร้านหนังสือ,ร้านอาหาร,โรงหนัง โรงภาพยนตร์,สวนสนุกแหล่งให้ความบันเทิงอย่างครบครัน ในเมื่อ Internetเป็นสังคมที่มีกลุ่มบุคคลขนาดใหญ่เหมือนกับสังคมในโลกของความเป็นจริงแน่นอนว่ามันจะต้องมีทั้งคนที่ดีและก็ไม่ดีปะปนกันอยู่ทั่วๆไป ที่คอยจ้องจะแย่งชิงทรัพย์สินและทรัพยากรที่เราพึ่งจะมีออกไปหรือแม้แต่จะใช้เราเป็นเครื่องมือในการก่อการร้ายต่างๆท่านอยากจะป้องกันตัวเองจากคนกลุ่มนี้หรือว่าจะอยากให้บุคคลที่ไม่พึ่งประสงค์เหล่านี้เข้ามาโจมตีท่านได้


Firewall คือ โปรแกรมหรือ hardware ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อควบคุมการเข้าออกของโปรแกรมต่างๆโดยมีพื้นฐานมาจากการที่ตัว firewallจะทำการอ่านข่าวสารต่างๆที่ไหลผ่านเข้ามาในเครื่องทั้งขาเข้าและขาออกโดยจะนำข่าวสารต่างๆ (packet) ไปเปรียบเทียบกับกฎที่เราได้ตั้งเอาไว้ (rule) และจำทำการตัดสินใจว่าจะทำการ ปฏิเสธ (deny) หรือว่า อนุญาต (allow) โดยปกติ firewallจะอยู่ระหว่างเครื่อง computerของเรากับเครื่อง computer ของคนอื่นๆไม่วาจะเป็นในเครือข่ายหรือ internet ก็ตาม Firewall นั้นแต่เดิมมีความหมายคือเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการป้องกันไม่ให้ไฟลามจึงเป็นที่มาของfirewallในเครื่อง computer ที่มีลักษณะคลายๆกันนั้นก็คือป้องกัน computer จากภัยอันตรายต่างๆนั้นเอง

Proxy server เป็นผู้ให้บริการในการรับคำขอร้องของเครื่อง client ไม่ว่าจะเป็นการ เปิดหน้า web page,การ upload–download หรือว่าการให้บริการต่างๆ ฯลฯ แล้วเครื่อง proxy server ก็จะส่งคำขอร้องของเครื่อง client ไปยัง server อื่นๆต่อไป ดังนั้น Proxy server จึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครื่องclient (user) กับจุดหมายปลายทางใน internet ในการทำงานเป็นตัวกลางของ proxy server นี้เองเราสามารถนำตัว proxy server มาใช้เป็นเครื่องมือในการพรางตัวของเราได้เพราะว่า proxy server จะเป็นนายหน้าในการออกไปรับส่งข้อมูลแทนเครื่อง client ทำให้ IP ที่ server เก็บไปนั้นจะเป็นของ proxyทำให้เราได้รับความปลอดภัยในการท่อง internet อีกเป็นเท่าตัวตามปกติแล้วในเมื่อ Proxy ไปเรียกข้อมูลจากที่ใดๆมาก็ตามตัว Proxy นั้นจะเก็บข้อมูลเอาไว้บน server ซึ่งข้อมูลในส่วนนั้นจะถูกเรียกว่า “cache” และถ้าเกิดว่ามีเครื่องอื่นๆมาขอข้อมูลเดียวกันมาอีกทาง proxy ก็จะทำการส่งข้อมูล นั้นไปหาเครื่องที่ขอร้องได้โดยที่ไม่ต้องติดต่อไปยังที่อื่นๆอีกต่อไปทำให้ปริมาณการรับส่งข้อมูลลดลง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลของเครื่องclient อีกทางหนึ่ง ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งของ Proxy ก็คือ proxy free ใช้งานได้นั้นหาได้ยากยิ่ง และที่หาได้ยากยิ่งกว่าคือ proxy free ที่มีการปกปิด Ipให้ (anonymous proxy) ทางที่ดีเราควรขอ proxy จากทางผู้ให้บริการ internet ของเราจะดีกว่าเพราะสามารถใช้ได้จริงและปกปิดIp ได้ดีพอสมควร


Intrusion detection system (IDS) คือ software หรือ hardware ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อที่ไม่พึงประสงค์ หรือความพยายามที่จะเข้ามาทำอันตรายต่อเครือข่าย โดยผ่านระบบต่างๆเช่น Internet, Lan เป็นต้น โดยการโจมตีนั้นอาจจะเกิดจาก cracker, Worm หรือ Malware ต่างๆและข้อจำกัดของ Intrusion detection system (IDS) นั้นก็คือไม่สามารถที่จะรวจสอบ Packet ที่เข้ารหัสได้องค์ประกอบของ Ids นั้นมีหลายหลาย

โปรแกรมฆ่าไวรัส นั้นเป็น Software ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาใช้ในการป้องกันหรือกำจัดโปรแกรมที่เป็นอันตรายหรือเพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีไม่ให้มาทำอันตรายต่อเครื่องของเราได้โดยทั่วไปนั้นโปรแกรมฆ่าไวรัสนั้นมีอยู่หลากหลายบริษัทเป็นอย่างมากแต่โปรแกรมฆ่าไวรัสที่ดีนั้นนั้นต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ


1. ไม่กินทรัพยากรของเครื่องที่ใช้มากจนเกิดไป

2. มีรายชื่อของไวรัสหรือฐานข้อมูลของไวรัสคลอบคลุมหลากหลายสายพันธุ์

3. สามารถกำจัดไวรัสได้อย่างรวดเร็วและสามารถซ่อมแซม registry ที่ไวรัสได้สร้างความเสียหากไว้ให้ได้

นี่เป็นคุณสมบัติหลักๆที่โปรแกรมฆ่าไวรัสนั้นต้องมีกัน ถ้ามีคุณสมบัติครบ 3 ข้อก็เป็นโปรแกรมที่มีคุณภาพดีพอสมควรแต่ถึงอย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรที่จะลงโปรแกรมพวกนี้พร้อมกันที่เดียวมากกว่า 1 โปรแกรมเพราะจะทำให้เครื่อง Computer ของท่านทำงานได้ช้าลงอย่างเห็นได้ชัดและทางที่ดีเราก็ควรที่จะ update โปรแกรมฆ่าไวรัส อยู่อย่างสม่ำเสมอเพราะว่าทุกวันนี้มีไวรัสเกิดขึ้นมาใหม่ๆในทุกๆวันสิ่งที่ป้องกันเราได้นั้นไม่ใช้ antivirus ที่มีคุณสมบัติที่ดีเพียงอย่างเดียวแต่ต้องรวมไปถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการป้องกันภัยทาง internet นั้นเอง
ตัวอย่างโปรแกรมฆ่าไวรัสที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

Kasperskyantivirus

Bitdefender antivirus

Nod32 antivirus

Norton antivirus

Mcafee antivirus

F-Secure Anti-Virus

IPS (Intrusion Prevention System) ระบบตรวจสอบและตอบโต้การบุกรุก IPS (Intrusion Prevention System) คือ Software หรือ hardware ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ตรวจสอบการบุกรุกโดยจะทำงานคล้ายๆกับ IDS แต่จะมีคุณสมบัติพิเศษในการจู่โจมกลับหรือหยุดยั้งผู้บุกรุกได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่จำเป็นต้นอาศัยโปรแกรมหรือ hardware ตัวอื่นๆIPS นั้นจะจู่โจมผู้โจมตีโดยการส่งสัญญาน TCP Reset โต้ตอบกลับไปหรือจะสั่งการ firewall เพื่อปรับเปลี่ยนกฎบางข้อเพื่อป้องกัน Packet อันตรายไม่ให้เข้ามาในเครื่อข่าย การทำงานของ IPS นั้นจะใช้หลักการ Inline คือจะนำ IPS เข้าไปวางไว้ขั้นกลางการส่งข้อมูล(โดยทั่วไปจะวางไว้หลัง firewall) โดยจะไม่มีการกำหนด IP address เอาไว้เพื่อป้องกันการโจมตี (front end) ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดข้อเสียตรงที่ว่าถ้า IPS เกิดมีปัญหาหรือ Block Packet ผิดพลาดอาจส่งผลต่อการทำงานได้ (IPS ที่ได้อธิบายไปนั้นเป็น IPS ชนิด NIPS)

การแบ่งประเภทของ IPS สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1. Network Based Intrusion Prevention System (NIPS)

2. Host Based Intrusion Prevention System (HIPS)

Network Based Intrusion Prevention System (NIDS) คือ IPS

ที่ได้รับการติดตั้งไว้ที่ส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายเพื่อป้องกันการบุกรุก

Host Based Intrusion Prevention System (HIDS) คือ Software ที่ติดตั้งเข้าไป

ที่เครื่อง Server เพื่อป้องกันการบุกรุกหรือการโจมตีต่างๆ ตัวอย่างของโปรแกรมประเภทนี้ก็คือ Antivirus, AntiSpyware เป็นต้น

Chapter 7 Storage

Chapter 7 Storage

ฮาร์ดดิส์ (Harddisk)


ฮาร์ดดิคส์ เรียกอีกอย่างว่า Fix Disk เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่ง (Storage Device) ปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ ที่จำเป็น และ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงโปรแกรม ประยุกต์และ เก็บข้อมูลของผู้ใช้ เนื่องจากโปรแกรม หรือข้อมูลในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถที่จะเก็บ ลงในแผ่นดิสเก็ต ได้หมด ฮาร์ดดิสค์ จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้อง การเปิดออกจะต้อง เปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้อง ออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นแบบติดภายในเครื่องไม่ เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเก็ต ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร ์(Winchester Disk)

หน่วยความจำ (Memory)

Read-Only Memory (ROM) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (รอม)
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บคำสั่งไว้อย่างถาวรและยังคงมีคำสั่งเหล่านี้เก็บอยู่ ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องแล้วก็ตาม รอมจะบรรจุโปรแกรมระบบที่สำคัญไว้โดยที่เราหรือคอมพิวเตอร์เองก็ไม่สามารถลบทิ้งได้ทั้งนี้เพราะเป็นชิปที่ผู้ผลิตได้บรรจุคำสั่งไว้อย่างถาวร เนื่องจากหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์จะว่างเปล่า เมื่อมีการเปิดเครื่อง จึงทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานใดๆ ได้ถ้าไม่ให้คำสั่งในการเริ่มต้น ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในรอมนั่นเอง

Random-Access Memory (RAM) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (แรม)

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า แรม เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูล เพื่อสามารถเข้าถึงโดยตรงในการควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง โดยผ่านทางบัสข้อมูลภายนอกความเร็วสูง ชื่อแรมมักจะเรียกว่าหน่วยความจำอ่าน/บันทึกเพื่อเป็นการแบ่งแยกจากหน่วยความจำอ่านอย่างเดียวหรือรอม (ROM) ซึ่งเป็นส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งของหน่วยเก็บหลัก (primary storage) ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในแรมนี้เองที่หน่วยประมวลผลกลางสามารถบันทึกและอ่านข้อมูล โปรแกรมส่วนมากจะจัดส่วนของแรมไว้ต่างหากเพื่อเป็นเนื้อที่ทำงานชั่วคราวสำหรับข้อมูลของเรา เพื่อที่เราจะสามารถบันทึกทับใหม่ได้เท่าที่ต้องการจนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกนำไปพิมพ์หรือเก็บในหน่วยเก็บรอง (secondary storage) เช่น จานบันทึกแบบแข็งหรือแผ่นบันทึก ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในแรมจะหายไปได้เมื่อมีการปิดเครื่องหรือเมื่อกระแสไฟดับ ดังนั้นเราจึงต้องเก็บบันทึกงานที่ทำอยู่ตลอดเวลาและก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล

Compact Disc (CD) แผ่นซีดี (ซีดี)

แผ่นพลาสติกกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว (12 เซ็นติเมตร) ที่บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ บันทึกข้อมูลด้วยสัญญาณดิจิทัลในรูปแบบซีแอลวี (CLV) แผ่นซีดีเป็นมาตรฐานที่พัฒนาร่วมกันโดยบริษัทโซนี และบริษัทฟิลิปส์ มีการประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1980 และจัดอยู่ในมาตรฐานเรดบุ๊ก (Red Book)

ซีดี (CD)

ซีดีเสียง หรือ ซีดีเพลง หรือ ออดิโอซีดี (audio CD) เก็บสัญญาณเสียงในรูปแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานเรดบุ๊ค (red book) ซีดีเสียงประกอบด้วยแทร็คสเตอริโอหลายแทร็ค ที่เก็บโดยการเข้ารหัสแบบ PCM ขนาด 16 บิตด้วยอัตราการสุ่มตัวอย่าง 44.1 kHz
คอมแพคดิสค์มาตรฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร แต่มีรุ่นขนาด 80 มิลลิเมตรอยู่ในรูปการ์ดขนาดเท่านามบัตรหรือเป็นรูปวงกลม แผ่นดิสค์ขนาด 120 มิลลิเมตร สามารถบันทึกเสียงได้ 74 นาที แต่มีรุ่นที่สามารถบันทึก 80 หรือ 90 นาทีด้วย แผ่นดิสค์ขนาด 80 มิลลิเมตร ใช้เป็นแผ่นซีดีซิงเกิล หรือใช้เป็นนามบัตรประชาสัมพันธ์ เก็บเสียงใช้เพียงแค่ 20 นาที

ดีวีดี (DVD; Digital Video Disc)

เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่าเดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile disc ปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด เครื่องเขียนแผ่นดีวีดี (DVD Writer) คือ เครื่องสำหรับการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดีวีดี
FLASH MEMORY CARD

1. CompactFlash Card

เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยผู้ริเริ่มก็คือ Sandisk Corp. ผลิตครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ.
1994 มีน้ำหนักเพียงครึ่งออนซ์ และมีขนาดเท่ากับกล่องไม้ขีดขนาด 43 mm(1.7”)x(0.13”) เท่านั้น โดยด้านหนึ่งจะเป็นช่องสำหรับเชื่อมต่อกับตัวอ่านข้อมูลโดยจะมีช่องพินถึง 50 พินด้วยกัน ทำให้ง่ายต่อการปรับใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กอื่นๆ การเก็บข้อมูลลักษณะนี้จะให้ความคงทนของข้อมูลค่อนข้างมาก เพราะข้อมูลถูกเก็บในการ์ดทนแรงกระแทกได้มากถึง 10 ฟุตและยังบันทึกข้อมูลได้ยาวนานถึง 100 ปีอีก ด้วยสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่มีช่อง PCMCIA 68 pin เช่น โน๊ตบุ๊ก ได้โดยใช้คู่กับ PC Card Adapter เพื่อแปลงข้อมูลจาก CompactFlash Card ให้เป็น PCMCIA Card ก่อนเท่านั้นความจุอยู่ที่ 8-512 MB และ 1 GB กล้องดิจิตอลที่สามารถใช้ CompactFlash Card ได้มีหลายยี่ห้อเช่น Nikon, Kodak, Canon,Casio เป็นต้น
2. Ultra CompactFlash Card

เป็นสื่อที่กำลังมาแรงขณะนี้ เป็นการ์ดที่พัฒนามาจาก Compac tFlashCard โดยมีความเร็วในการโอน ถ่ายข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นถึง 2 เท่าคือ 2.8 Mbps. สำหรับการบันทึกขั้นละ 60 Mbps.สำหรับการอ่านวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมก็จะเป็นประเภทเดียวกับ CompactFlash Card แต่ Ultra CompactFlash Card ผลิตมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีของกล้องดิจิตอลในปัจจุบันที่มีการพัฒนาให้มี ความละเอียดของภาพได้มากขึ้นทำให้ภาพมีความคมชัดเหมือนจริงมากขึ้น แต่เนื่องจากกล้องที่มีความละเอียดของภาพสูงนั้นจะใช้เวลาในการโอนถ่าย ข้อมูลภาพนานเช่นกัน Ultra CompactFlash Card เหมาะสำหรับกล้องดิจิตอลที่มีขนาด 3 ล้านพิกเซลขึ้นไป มีขนาดตั้งแต่ 128 – 512 MB
3. SmartMedia Card
การ์ดประเภทนี้มีจุดเด่นที่ขนาดเล็กและบางเฉียบ ขนาดเท่ากับครึ่งหนึ่งของบัตรเครดิตมีความบางเพียง 0.76 มิลลิเมตรเท่านั้นหนักเพียง 2 กรัมมีข้อควรระวังนิดหน่อยตรงที่แผ่นสีทองที่เป็นตัวเก็บข้อมูลนั้นอยู่ที่ ด้านนอกของการ์ดต้องระวังเรื่องการขูดขีดแผ่นสีทองบนการ์ดเพราะนั่นอาจทำให้ การ์ดของคุณเพราะเวลาซื้อ SmartMedia Card จะมีกล่องใส่การ์ดให้ไปด้วย ขนาดความจุอยู่ที่ 8 – 256 MB กล้องดิจิตอลที่สามารถใช้ SmartMedia Card ได้นั้นมีหลายยี่ห้อ เช่น Fuji,Toshiba, Olympus เป็นต้น
4. MulitMedia Card

เป็นการ์ดที่มีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดเท่ากับแสตมป์เท่านั้นเหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องพกพาไป
ตาม ที่ต่างๆ ด้วย MultiMedia Card มีขนาดเล็กจึงเหมาะกับอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆได้ สะดวก เช่น โทรศัพท์มือถือ,เครื่อง MP3,ปาล์ม,Digital Camcorders เป็นต้น ข้อได้เปรียบของ MultiMedia Card คือ สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่มีสล๊อต Secure Digital Card ได้ขนาดความจุอยู่ที่ 8 – 128 MB
5. Secure Digital Card (SD Card)

เป็นการ์ดที่พัฒนามาจาก MultiMedia Card เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือกันระหว่าง 3 บริษัทชั้นนำ ในธุรกิจสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้แก่ Sandisk Corp. ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี Flash Card, Toshiba Corp. และ Panasonic โดยมีการเพิ่มคุณสมบัติความสามารถของการ์ดให้มากขึ้นได้แก่ การเพิ่มอัตราความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นถึง 10 MB/sec (มากกว่า MultiMedia Card ถึง 5 เท่า) และมีการเพิ่มเติมในส่วนของการป้องกันการ Copy ข้อมูลซ้ำ มีขนาดความจุอยู่ที่ 8 – 256 MB
6. Memory Stick
ได้รับการพัฒนาโดย Sony มีขนาดเท่ากับแผ่นหมากฝรั่งมีน้ำหนัก 4 กรัมอุปกรณ์ที่ใช้ Memory Stick เช่น กล้องดิจิตอล, กล้องวีดีโอ, เครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่อง MP3 เป็นต้น แต่ต้องเป็นยี่ห้อ Sony เท่านั้น เดิมที Memory Stick มีของยี่ห้อ Sony เท่านั้น ทำให้ Memory Stick ราคาค่อนข้างสูงแต่ปัจจุบันโซนี่ได้จับมือกับ Sandisk Corp. ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี Flash Card พัฒนาและผลิต Memory Stick ได้อีกยี่ห้อหนึ่งดังนั้น Memory Stick จึงไม่ได้มีเพียง Sony เท่านั้นแต่ยังมี Sandisk ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ Flash Card อีกด้วย นับเป็นทางเลือกให้ลูกค้าเป็นอย่างดี

Chapter 5 Input

Chapter 5 Input

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device)

แป้นพิมพ์ (Keyboard)

เป็นหน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการป้อนข้อมูลสำหรับเทอร์มินอล และไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายกับแป้นพิมพ์ดีด แต่มีจำนวนแป้นมากกว่า และถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ

- แป้นอักขระ (Charater Keys) มีลักษณะการจัดวางตัวอักษรเหมือนแป้นบนเครื่องพิมพ์ดีด

- แป้นควบคุม (Control Keys) เป็นแป้นที่มีหน้าที่สั่งการบางอย่างโดยใช้งานร่วมกับแป้นอื่น

- แป้นฟังก์ชั่น (Function Keys) คือแป้นที่อยู่แถวบนสุด มีสัญลักษณ์เป็น F1..F12 ซอฟต์แวร์แต่ละชนิดอาจกำหนดแป้นเหล่านี้ให้มีหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป

- แป้นตัวเลข (Numeric Keys) เป็นแป้นที่แยกจากแป้นอักขระมาอยู่ทางด้านขวา มีลักษณะคล้ายเครื่องคิดเลข ช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกตัวเลขเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

นอกจากนี้ ยังมีแป้นพิมพ์บางประเภทที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น แป้นพิมพ์ที่ใช้ในร้านอาหารแบบเร่งด่วน (fast food restaurant) จะใช้พิมพ์เฉพาะชื่ออาหาร หรือแป้นพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (Automatic Trller Machine) เป็นต้น

อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Devices)

เมาส์ (Mouse)

มีหลายขนาดและมีรูปร่างแตกต่างกันไป ที่นิยมใช้มีขนาดเท่ากับฝ่ามือ มีลูกกลมกลิ้งอยู่ด้านล่าง ส่วนด้านบนจะมีปุ่มให้กดจำนวนสอง สาม หรือสี่ปุ่ม แต่ที่นิยมใช้กันมากคือสองปุ่ม ใช้ส่งข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำหลักโดยการเลื่อนเมาส์ให้ลูกกลมด้านล่างหมุน เพื่อเป็นการเลื่อน ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) บนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพ ทำให้การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์ ผู้ใช้อาจใช้เมาส์วาดรูป เลือกทางเลือกจากเมนู และเปลี่ยนแปลงหรือย้ายข้อความ เมาส์ยังไม่สามารถใช้ในการป้อนตัวอักษรได้ จึงยังคงต้องใช้คู่กับแป้นพิมพ์ในกรณีที่มีการพิมพ์ตัวอักษร แต่สำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ การใช้เมาส์เพียงอย่างเดียวจะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยกว่าการใช้แป้นพิมพ์
ลูกกลมควบคุม(Track ball),แท่งชี้ควบคุม(Track point),แผ่นรองสัมผัส (Touch pad)
อุปกรณ์ทั้งสามแบบนี้มักพบในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเพื่อทำหน้าที่แทนเมาส์ เนื่องจากสามารถติดไว้กับตัวเครื่องได้เลย ทำให้พกพาได้สะดวกกว่า และใช้เนื้อที่ในการทำงานน้อยกว่าเมาส์ อุปกรณ์ทั้งสามแบบจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ
1. ลูกกลมควบคุม จะเป็นลูกบอลเล็ก ๆ ซึ่งอาจวางอยู่หน้าจอภาพในเนื้อที่ของแป้นพิมพ์ หรือเป็นอุปกรณ์ต่างหากเช่นเดียวกับเมาส์ เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์

2. แท่งชี้ควบคุม จะเป็นแท่งพลาสติกเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางแป้นพิมพ์ บังคับโดยใช้นิ้วหัวแม่มือเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์

3. แผ่นรองสัมผัส จะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมที่วางอยู่หน้าแป้นพิมพ์ สามารถใช้นิ้ววาดเพื่อเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์

จอยสติก (Joystick)
จอยสติก จะเป็นก้านสำหรับใช้โยกขึ้นลง / ซ้ายขวา เพื่อย้ายตำแหน่งของตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับเมาส์ แต่จะมีแป้นกดเพิ่มเติมมาจำนวนหนึ่งสำหรับสั่งงานพิเศษ นิยมใช้กับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือควบคุมหุ่นยนต์



จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen)

จอภาพระบบสัมผัส (Touch Screen)

เป็นจอภาพแบบพิเศษซึ่งผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลงบนจอภาพในตำแหน่งที่กำหนดไว้ เพื่อเลือกการทำงานที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกทางใด และทำงานให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จะพบการใช้งานมากในร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

ระบบปากกา (Pen-Based System)

ปากกาแสง (Light pen)

ใช้เซลล์แบบซึ่งมีความไวต่อแสงเป็นตัวกำหนดตำแหน่งบนจอภาพ รวมทั้งสามารถใช้วาดลักษณะหรือรูปแบบของข้อมูลให้ปรากฏบนจอภาพ การใช้งานทำได้โดยการแตะปากกาแสงไปบนจอภาพตามตำแหน่งที่ต้องการ นิยมใช้กับงานคอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (CAD หรือ Computer Aided Design ) รวมทั้งนิยมให้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลโดยการเขียนด้วยมือในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA เป็นต้น

เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)

ประกอบด้วยกระดาษที่มี เส้นแบ่ง (Grid) ซึ่งสามารถใช้ปากกาเฉพาะที่เรียกว่า stylus ชี้ไปบนกระดาษนั้น เพื่อส่งข้อมูลตำแหน่งเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ ปรากฏเป็นลายเส้นบนจอภาพ เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กับงานด้าน CAD เช่น ใช้ในการออกแบบรถยนต์รุ่นใหม่ ตึกอาคาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และหุ่นยนต์ เป็นต้น

อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Devices)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ ระบบวิเคราะห์แสง (Optical recognition system) ช่วยให้มีการพิมพ์ข้อมูลเข้าน้อยที่สุด โดยจะอ่านข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการใช้สำแสงกวาดผ่านข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พิมพ์ไว้ เพื่อนำไปแยกแยะรูปแบบต่อไป ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ กันมาก โดยมีอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยม คือ

เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition system)

ปัจจุบันมีจำนวนผู้นิยมใช้เช็คมากขึ้น จึงมีผู้คิดวิธีการตรวจสอบเช็คให้รวดเร็วมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ โดยได้ประดิษฐ์เครื่อง MIRC ขึ้นใช้ในธนาคารสำหรับตรวจสอบเช็ค โดยเครื่องจะทำการเข้ารหัสธนาคาร รหัสสาขา เลขที่บัญชี และเลขที่เช็ค ไว้ในเช็คทุกใบ จากนั้นจึงส่งเช็คนั้นให้ลูกค้า ตัวเลขที่เข้ารหัสไว้จะเรียกว่า ตัวเลข MIRC ในเช็คทุกใบจะมีเลข สีดำชัดเจนที่ด้านล่างซ้ายของเช็คเสมอ และหลังจากที่เช็คนั้นกลับมาสู่ธนาคารอีกครั้งหนึ่ง ก็จะทำการตรวจสอบจากตัวเลข MIRC ว่าเป็นเช็คของลูกค้าคนนั้นจริงหรือไม่ เครื่อง MIRC ไม่เป็นที่นิยมใช้กับงานประเภทอื่น เพราะชุดของตัวอักษรที่เก็บได้มีสัญลักษณ์เพียง 14 ตัวเท่านั้น

Chapter 4 The Components of the System Unit

Chapter 4 The Components of the System Unit


ตัวเครื่อง (System Unit)



เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อเปิดฝาครอบหรือเคส (Case) แล้วเราจะพบกับส่วนประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ซีพียู (Central Processing Unit)


หน่วยประมวลผลกลาง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นภายในคอมพิวเตอร์ CPU มีมากมายหลายชนิด และมีความเร็วหลาย ๆ ระดับ ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ 3 รายด้วยกัน
เมนบอร์ด (MainBoard)


เมนบอร์ด เป็นแผงวงจรหลักที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น CPU, RAM, ChipSet และ การ์ดภายในต่าง ๆ โดยอุปกรณ์เหล่านั้นจะถูกติดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของเมนบอร์ด โดยต้องพิจารณาเกี่ยวกับอินเตอร์เฟส (interface) และ ชิปเซ็ต ซึ่งจะสัมพันธ์กับชนิดและประเภทของ CPU เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีเมนบอร์ดแบบ ออลอินวัน (All In One) ซึ่งเป็นเมนบอร์ดที่มีราคาประหยัด โดยจะนำเอาส่วนของการ์ดแสดงผล (Vga adapter Card) การ์เสียง (Sound Card) โมเด็ม (Modem) หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มารวมไว้บนเมนบอร์ด

เคส (Case)



เคส (Case) คือกล่องใส่ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่ เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ ซีพียู แรม การ์ดเสียง การ์ดจอ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น
หน่วยความจำหลัก (Main Memory )


หน่วยความจำหลักเป็นสิ่งจำเป็น และขาดไม่ได้ หมายถึง RAM (Random Access Memory) มีหน่วยวัดเป็นเมกกะไบต์ (Mb) คอมพิวเตอร์จะใช้แรมเป็นที่สำรองข้อมูลชั่วคราว โดยข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ถูกป้อนเข้ามาจะถูกเก็บอยู่ในแรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียกใช้งานได้
การ์ดแสดงผล (Video Graphic Adapter Card)


เป็นอุปกรณ์ที่จะประมวลผลข้อมูลแล้วส่งสัญญาณไปแสดงผลที่จอภาพ ในปัจจุบัน โปรแกรมสามารถแสดงภาพทั้งสี และความเคลื่อนไหวที่มีความละเอียดสูงขึ้น ในทางปฏิบัติจึงควรใช้การ์ดแสดงผลการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่จะเป็นแบบ 3 มิติ หรือ 3D ซึ่งสามารถรองรับการใช้งานด้านกราฟิคหรือการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็ว และความละเอียดสูงได้เป็นอย่างดี การ์ดแสดงผลที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันควรมีหน่วยความจำ

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)


เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่ง และสามารถเก็บได้ความจุมากที่สุดในปัจจุบันนี้ถ้าจะเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งาน จำเป็นที่จะต้องมองหาฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงที่สุด เท่าที่งบประมาณเราจะซื้อได้ เพราะโปรแกรมใช้งานเช่น Operating System ต่าง ๆ หรือไฟล์งานรุ่นใหม่ ๆ นั้น ใช้พื้นที่ในการใช้งานมากกว่าเดิม การเลือก ขนาดของฮาร์ดดิสก์จึงขึ้นอยู่กับความต้องการในการลงโปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ว่าต้องการใช้โปรแกรม
ซีดีรอมไดรฟ์ (CD-ROM Drive)


คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน มักจะมีซีดีรอมไดรฟ์ หรือดีวีดีรอมไดรฟ์ (DVD ROM) ติดตั้งมาให้เป็นมาตรฐานอยู่แล้วทั้งนี้ เนื่องจากโปรแกรมระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ในปัจจุบันจะถูกเก็บบันทึกอยู่ในแผ่น CD-ROM เพราะแผ่น ซีดีรอม แผ่นหนึ่งสามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างต่ำ 650 MB ความเร็วในการอ่านข้อมูลของ CD-ROM มีขนาดตั้งแต่ 8x ถึง 60x
การ์ดเสียง (Sound Card )


เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงเสียงออกมาได้ โดยสามารถแสดงได้ทั้งเสียงเพลง และเสียงดนตรีที่บันทึกไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป จำเป็นต้องติดตั้งการ์ดเสียง มิฉะนั้น จะไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำงานทางด้านมัลติมีเดีย ตลอดจนกระทั่งเล่นเกมส์ได้ การ์ดเสียงทมีคุณภาพดีจะต้องมีการบันทึกเสียงดนตรีต่าง ๆ เอาไว้ทำให้สามารถเล่นโน๊ตเพลงได้ (Wave Table) และบางรุ่นยังมีความสามารถในการแสดงเสียงแบบ 3 มิติได้ด้วย
โมเด็ม (Modem - Modulation Demodulation)


เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ เพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านทางสายโทรศัพท์ หน้าที่สำคัญของโมเด็ม คือการแปลงสัญญาณระหว่างดิจิตอล กับ สัญญานอนาล็อก ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารผ่านทางสายโทรศัพท์ กับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลได้




Chapter 3 Application Software

Chapter 3 Application Software



ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้


1 User Program คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา BSDIC , COBOL , PSDCSL , C , ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า, โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคำนวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น


2 Package Program คือ โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันที

 
         โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านการสร้างรูปภาพและกราฟฟิกต่าง ๆ รวมทั้งงานทางด้านสิ่งพิมพ์ การทำโบรชัวร์ แผ่นพับ นามบัตร เช่น CorelDraw, Photoshop, Harvard Graphic, Freelance Graphic, PowerPoint, PageMaker เป็นต้น


จากข้างต้นเป็นตัวอย่างของ Package Program ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน ที่จริงแล้ว Package Program สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน สำหรับรายละเอียดของโปรแกรมแต่ละประเภทนั้น มีรายละเอียดดังนี้
 
1. โปรแกรมทางด้าน Word Processor
2. โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet
3. โปรแกรมทางด้าน Database
4. โปรแกรมทางด้าน Graphic
5. โปรแกรมเกม ( Game)
6. โปรแกรมทางด้านการสร้างสถานการณ์จำลอง
7. โปรแกรมทางด้านการติดต่อสื่อสาร
8. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
9. โปรแกรมทางด้านการออกแบบ

Chapter 2 The Internet and World Wide Web

Chapter 2 The Internet and World Wide Web


อินเทอร์เน็ต

    คือ  อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย


IP (Internet protocal) Address

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง

ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน

Chapter 1 Introduction to Computers

Chapter 1 Introduction to Computers



คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอม-พิ้ว-เต้อ) คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย


คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร



คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆเช่น ENIAC เวลาโปรแกรมต้องใช้วิธีการเปลี่ยนสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก จึงเกิดแนวคิดว่าตัวโปรแกรมน่าจะจัดเก็บอยู่ในส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ง่าย เป็นที่มาของแนวคิดที่ทำการจัดเก็บข้อมูลต่างๆรวมถึงโปรแกรมไว้ใน หน่วยความจำ หรือ memory ทำให้คอมพิวเตอร์จะได้รับคำสั่งโดยการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ และการปรับเปลี่ยนโปรแกรมสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงค่าภายในหน่วยความจำ


แนวคิดข้างต้นรู้จักในชื่อว่า "Stored-Program Concept" หรือ อีกชื่อว่าสถาปัตยกรรม von Neumann โดยเข้าใจว่า J. Presper Eckert และ John William Mauchly ซึ่งเป็นนักออกแบบ ENIAC เป็นผู้คิดค้นขึ้น


แนวคิดการทำงานแบบ Stored-Program ถูกใช้เป็นแนวคิดหลักของการทำงานในคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน โดยแนวคิดนี้จะแบ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็น 4 ส่วนหลักได้แก่
หน่วยประมวลผลในรูปแบบข้อมูล Binary หรือที่เรียกว่า Arithmetic-Logical Unit (ALU) เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของมันคือทำการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานอันได้แก่การบวกและลบ และการทำการเปรียบเทียบข้อมูลสองข้อมูลว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ถ้าไม่จะมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า



หน่วยความจำ หรือ Memory ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data) และ คำสั่ง (Instructions) โดยข้อมูลภายในหน่วยความจำจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเล็กๆเท่าๆกัน แต่ละส่วนมีที่อยู่ (address) เพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเอาไว้


อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต หรือ I/O Device เป็นส่วนที่ใช้นำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้ามาภายในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาประมวลผล และเมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลให้โลกภายนอกคอมพิวเตอร์ได้รับทราบ


หน่วยควบคุมการทำงาน หรือ Control Unit เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน หน้าที่หลักๆคือทำการอ่านข้อมูลคำสั่งที่อยู่ภายในหน่วยความจำหรือที่ได้จากอุปกรณ์อินพุต ทำการแปลความหมายและส่งไปประมวลผลใน ALU จากนั้นนำผลที่ได้ไปจัดเก็บในหน่วยความจำหรืออุปกรณ์เอาต์พุต หน้าที่หลักอีกประการ คือควบคุมลำดับการทำงานของแต่ละขั้นตอนให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสม

 
The Component of a Computer


1) Input Devices

2) Output Devices

3) System Unit

4) Storage Devices

5) Communications Devices